การถือศีลอดของชาวมุสลิม

00:01 0 Comments






การถือศีลอด คือ  มาจากภาษาอาหรับว่า "อัศ-เศาม" หรือ "อัศ-ศิยาม" ในทางภาษาหมายถึง การละ การงด การระงับยับยั้ง การควบคุม ครองตน เช่น การละความชั่ว ยับยั้ง สิ่งต่างๆ ที่เกิดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำ ส่วนความหมายในทางศาสนา หมายถึง การละเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส



ระหว่างรุ่งสาง จนตะวันลับขอบฟ้า งดเว้นการพูดจาโกหก เหลวไหล ไร้สาระ เว้นจากการประพฤติชั่ว ทั้งโดยลับ และเปิดเผย ถือปฏิบัติตามแบบอย่างที่ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ .ล.) ได้ทรงกำหนดไว้โดยให้ควบคุม พร้อมทั้งมือ เท้า หู ตา ใจ ลิ้น และอวัยวะทุกส่วน มิให้ใช้ไปในทางไร้สาระ โองการในอัลกุรอาน มีปรากฏว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดนั้น ได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้าดั่งที่ได้ถูกกำหนด แก่เขาเหล่านั้น ก่อนหน้าสู เจ้ามาแล้ว เพื่อว่าสูเจ้าจะได้สำรวมตนจากความชั่ว”


จากโองการนี้แสดงว่า การถือศีลอดนั้น ได้เคยมีมาแล้วใน ประชาชาติก่อนๆ เราได้ทราบจากประวัติศาสตร์ว่า ชาวอียิปต์โบราณนิยมถือศีลอด กันมาเป็นประจำ ต่อมาแพร่หลาย ไปยัง ชาวกรีกและโรมัน โดยเฉพาะชาวกรีก ยังได้นำการถือศีลอดนี้ ไปใช้เป็นบทบังคับสตรี และชาวอินเดียยังคงนิยม การถือศีลอด ตราบเท่าทุกวันนี้ ท่านนบีมูซาศาสดาของ ชาวยิวได้ถือศีลอดเป็นเวลา 40 วัน ชาวยิวถือศีลอดเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อระลึกถึงวันที่กรุงยะรุสลิม (เยรูซาเล็ม) ได้ถูกทำลายโดยกษัตริย์บาบิโลน ก่อน ค.ศ. 587 และถูกทำลายซ้ำ โดยชาวโรมันใน ค.ศ.70 การถือศีลอดได้ปฏิบัติกันมาในรูปแบบต่างๆ กัน บางพวกอดอาหารตลอดวัน บางพวกงดเพียงครึ่งวัน บางพวกบริโภคอาหารหนัก แต่ไม่ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มอื่นๆ และบางพวกงดบริโภคเนื้อสัตว์
แต่สำหรับอิสลาม

 การถือศีลอด คือ การอดอาหารเครื่องดื่ม การเสพเมถุน อดกลั้นทำความชั่วทุกชนิด แม้เพียงนึกคิด ตั้งแต่รุ่งสางจนตะวันลับขอบฟ้าในเดือนรอมฎอน (เดือนที่ 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติของอิสลาม) ของทุกปี เป็นเวลาประมาณ 29 ถึง 30 วัน บทบัญญัตินี้ ถูกกำหนดบังคับใช้สำหรับมุสลิมทุกคน ซึ่งถูกบัญญัติ ใน เดือน ซะอบาน (เดือนที่ 8) หลังจาก ท่านศาสดามุฮัมหมัด (ซ.ล.) อพยพจาก มักกะฮสู่มาดีนะฮได้ 2 ปี (ปีฮิจเราฮที่ 2) และได้ ปฏิบัติกันมาจนตราบเท่า ทุกวันนี้ การถือศีลอดเป็นการทดลอง และฝึกหัดร่างกาย ให้รู้จักอดกลั้น ให้รู้จักสภาพอันแท้จริงของผู้ที่อัตคัดขัดสน ทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกัน เป็นการ ขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วพ้นจากอำนาจ ใฝ่ต่ำ และมีคุณธรรม

ผู้ที่ศาสนากำหนดให้ถือศีล-อด 
       ผู้ที่ต้องถือศีล-อด  คือ  มุสลิมที่บรรลุศาสนภาวะ , มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
       สำหรับผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน ไม่ต้องถือศีล-อด  ได้แก่ เด็ก , คนชรา , คนป่วย , คนเดินทาง , สตรีที่มีรอบเดือน , สตรีที่มีเลือดหลังการคลอดบุตร  , สตรีที่มีครรภ์  หรือกำลังอยู่ในช่วงเวลาให้นมลูก

ประเภทของผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน
       1.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อด และไม่ต้องชดใช้  ได้แก่  คนเสียสติ  และเด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ  (ในกรณีที่เป็นเด็กสมควรที่ผู้ปกครองจะสั่งใช้ให้ฝึกฝนการถือศีล-อด ตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อสามารถทำได้เมื่อถึงวัยที่บรรลุศาสนภาวะ) 
       2.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อด  และจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ในวันอื่น  ได้แก่
              2.1  ผู้ป่วยที่ไม่ใช่การป่วยแบบเรื้อรัง
              2.2  คนเดินทาง
              3.3  สตรีที่กำลังมีประจำเดือน
              3.4  สตรีที่กำลังมีเลือดหลังการคลอดบุตร
       3.  ผู้ที่ไม่ต้องถือศีล-อด  และจำเป็นต้องจ่ายฟิตยะห์  ได้แก่
              3.1  คนชรา
              3.2  คนป่วยที่มีอาการเรื้อรังยาวนาน
              3.3  ผู้ใช้แรงงานหนัก
              3.4  หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก
การจ่ายฟิตยะห์ชดเชยการถือศีล-อด  คือ  การให้อาหารแก่คนยากจน  1  คน  แทนการถือศีล-อด  1  วัน 

 การปฏิบัติตนในการถือศีล-อด
       1. มีความตั้งใจจะทำการถือศีลอดในวันรุ่งขึ้น
       2.  รับประทานอาหารสะโฮร
            -  อาหารสะโฮร จะเป็นสิ่งใดก็ได้ จะรับประทานมาก หรือน้อยก็ได้ หรือแม้แต่เพียงดื่มน้ำ ก็ถือว่าเป็นอาหารสะโฮรได้
            -  เวลาของสะโฮร เริ่มตั้งแต่เที่ยงคืน จนถึงแสงอรุณขึ้น
            -  ส่งเสริมรับประทานอาหารสะโฮรในช่วงท้ายของเวลา (ใกล้เวลาศุบฮิ)
       3.  รีบละศีล-อดเมื่อเข้าเวลามักริบ
          เมื่อได้เวลามักริบ ควรรีบละศีล-อดทันทีโดยไม่รอช้า สมควรละ ศีล-อดด้วยอินทผลัมก่อนรับประทานอาหารอื่น หากสามารถทำได้  และให้เป็นจำนวนคี่  หากไม่มีอินทผลัม ก็ให้ละศีล-อดด้วยน้ำก่อน  แล้วจึงรับประทานอาหารอื่นๆ
       4.  งดเว้นการกระทำไร้สาระ หรือสิ่งที่สวนทางกับคำว่า ถือศีล-อด
               เพราะการถือศีล-อดไม่ใช่เพียงการอดอาหาร และเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ต้องงดเว้นจากสิ่งไม่ดีต่างๆ ด้วย
       5.  ส่งเสริมให้แปรงฟัน และทำความสะอาดช่องปากในช่วงถือศีล-อด
       6.  อ่านและศึกษาอัลกุรอาน
       7.  ขอดุอาอฺมากๆ
       8.  ทำอิบาดะฮ์มากๆ โดยเฉพาะช่วง 10 วันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน

สิ่งที่อนุโลมให้กระทำได้ในขณะถือศีล-อด 
       1.  อาบน้ำ แช่น้ำ หรือดำน้ำ
       2.  เขียนตา  -  หยอดตา
       3.  การจูบที่ยังสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
       4.  ฉีดยา
       5.  กรอกเลือด
       6.  การกลั้วคอ  และการสูดน้ำเข้าจมูก  (แต่ต้องระวังมากๆ )
       7.  สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น ฝุ่น , ควัน , กลิ่น
       8.  การสูดดมสิ่งที่มีกลิ่นหอม เช่น ดมดอกไม้ , น้ำหอม
       9.  การทาครีมที่ผิวหนังของร่างกาย

สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด 
       สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
       1.  สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด และจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ด้วย ได้แก่
              -  กิน หรือดื่มโดยเจตนา (หากเกิดจากการลืมไม่ทำให้เสียศีล-อด)
              -  การทำให้อาเจียนโดยเจตนา  (หากอาเจียนเองไม่ต้องถือศีล-อดชดใช้)
              -  การมีเลือดประจำเดือน หรือเลือดหลังการคลอดบุตร
             -  การทำให้เกิดการหลั่งอสุจิโดยเจตนา  (หากไม่เกิดจากการเจตนา ถือว่าไม่เสียศีล-อด เช่น นอนหลับฝันร่วมประเวณี)
              -  การกลืน กินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารลงสู่ลำคอ
              -  ผู้ที่เจตนาละศีล-อด
       2.  สิ่งที่ทำให้เสียศีล-อด และจำเป็นต้องถือศีล-อดชดใช้ พร้อมจ่ายกัฟฟาเราะฮฺด้วย ได้แก่  การร่วมประเวณีในเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน



การถือศีลอด ในเดือนรอมาฎอน

“บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  การถือศีลอดได้ถูกกำหนดเหนือบรรดาสูเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำหนดเหนือบรรดาปวงชนก่อนสูเจ้า เพื่อว่าสูเจ้าจะได้หวั่นเกรงความชั่ว...”


(อัลบะกอเราะฮฺ : 183)



ผู้ที่จำเป็นต้อง ถือศีลอด มีกฎเกณฑ์ 5 ประการ



1.       ต้องเป็นมุสลิม
2.       มีอายุครบกำหนดตามศาสนบัญญัติ
3.       มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์  ไม่วิกลจริต
4.       มีร่างกายแข็งแรง สามารถถือศีลอดได้ตลอดทั้งวัน


ขั้นตอนปฎิบัติการถือศีลอด

1.       ต้องตั้งเจตนา (เนียต) ในการถือศีลอดทุกๆคืนระหว่างดวงอาทิตย์ตกจนถึงแสงอรุณขึ้น โดยอ่านและเนียต ดังนี้

“นาวัยตูเซามาฆ่อดิน อันอาด้าอี ฟัรดีชะฮฺรีรอมาฎอน ฮาซี่ฮิซซานาตี ลิ้ลลาฮีตาอ้าลา”

เนียตว่า   “ข้าพเจ้าถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฟัรฎูเดือนรอมาฎอนในปีนี้ เพื่ออัลเลาะฮฺตะอาลา”

2.       ต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำต่างๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำให้เสียศีลอด


ข้อห้ามขณะ ถือศีลอด

1.       ห้ามรับประทานหรือดื่ม รวมทั้งการสูบบุหรี่ด้วยโดยเจตนา
2.       ห้ามร่วมประเวณี หรือทำให้อสุจิออกมาโดยเจตนา
3.       ห้ามทำให้อาเจียนโดยเจตนา
4.       ห้ามเอาสิ่งใดเข้าไปจนลึกเกินบริเวณภายนอกในอวัยวะที่เป็นรู เช่น ปาก จมูก โดยเจตนา


ข้อห้ามเหล่านี้ ห้ามเฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ส่วนน้ำลายในปากกลืนได้ไม่ห้าม
สิ่งที่ทำให้เสีย ศีลอด

1.       กระทำอย่างหนึ่งอย่างใดจากข้อห้าม 4 ข้อที่กล่าวมาแล้ว
2.       เสียสติ  เป็นลม หรือปราศจากความรู้สึกผิดชอบ
3.       มีประจำเดือนหรือเลือดหลังการคลอดบุตร
4.       หลุดพ้นจากศาสนาอิสลาม (ตกมุรตัร)



การเหนีต คำเนียตถือศีลอด


ผู้ที่เสียศีลอด ต้องถือศีลอดชดใช้ในภายหลัง



การถือศีลอดให้เนียตในเวลากลางคืน ก่อนแสงอรุณขึ้น


อ่านว่า นะวัยตุเชาม่าฎ่อดิน อันอ่าดาอิ ฟัรดิ ร่อมาดอนน่า ฮาซิฮิสส่าน่ะติ ลิ้ลลาฮิต่าอาลา


ดุอาในการแก้หรือละศีลอด ควรอ่านดุอาต้นนี้ก่อนจะแก้ศีลอด







อ่านว่า อัลลอฮุมม่าล่าก่าสุมตุ  วาบี้ก้าอามันตุ ว่าล่าก่าอัซลัมตุ ว่าอ่าลาริษกี้ก้าอัฟฎ้อรตุ ยาวาซิอัลเม้าฆ ฟิร่อตี้ บี้รอฮม่าตี้ก้า ยาอัรห่ามัรรอฮี่มีน



0 ความคิดเห็น:

You can replace this text by going to "Layout" and then "Page Elements" section. Edit " About "

Blogger Tricks

Download

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Translater

Followers

บทความที่ได้รับความนิยม